วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ที่มาของพลาสเตอร์ยา






พลาสเตอร์ยา (Band aid)

นายเอิร์ลและนางโจเซฟิน ดิกสัน (Earle and Josephine son) แต่งงานกันในปึค.ศ. 1920 เป็นสามีภรรยาคู่ใหม่อาศัยในเมืองนิว บรันสวิก รัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา สามีทำงานอยู่บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันภรรยาเป็นแม่บ้านด้วยความเป็นแม่บ้านมือใหม่ ไม่ชำนาญการครัวโจเซฟินจึงถูกน้ำร้อนลวก มีดบาด ตะปูตำฯลฯ อยู่เป็นประจำ เอิร์ลต้องคอยทำแผลเล็กๆน้อยๆให้ภรรยาอยู่บ่อยๆ เขาจึงเกิดความคิดทำแผลแบบประหยัดเวลาและสะดวกในการใช้ ด้วยการนำผ้าก็อซมาวางบนเทปกาว เพื่อใช้ทำแผลให้ภรรยาโดยเฉพาะต่อมาเอิร์ลได้นำความคิดนี้ไปเสนอนายจ้าง ในปีค.ศ. 1921 บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันจึงได้ผลิตแถบพันแผลแบบมีกาวขึ้นมา มีขนาดกว้าง 3 นิ้ว ยาว 18 นิ้ว แต่ยังไม่ติดตลาดจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1924 บริษัทได้ปรับปรุงสินค้า สร้างเครื่องจักรขึ้นมาผลิตสินค้านี้โดยเฉพาะ และให้ชื่อว่า “แบนด์-เอด” (band-aid) สินค้าก็ติดตลาดทันทีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรสูงสุดให้กับบริษัทในปี ค.ศ. 1951 ได้มีการปรับรูปโฉมใหม่ให้กะทัดรัด ใช้ง่าย มีหลายขนาด คราวนี้ก็ใช้แพร่หลายไปทั่วโลก ปัจจุบันนี้พลาสเตอร์ยากลายเป็นแฟชั่น มีรูปการ์ตูนหลากหลายบนแผ่นพลาสเตอร์ยา ให้เลือกใช้เลือกสะสม เป็นของฝากกิ๋บเก๋ แม้ไม่มีแผลก็สามารถปิดได้

ไม่มีความคิดเห็น: